28/7/56

นิทานเซ็น แพทย์สงคราม

นิทานเซ็น แพทย์สงคราม

ยังมีแพทย์สงครามผู้หนึ่ง ทำหน้าที่รักษาเหล่าทหารที่บาดเจ็บในสมรภูมิรบมานับไม่ถ้วน ทหารหลายรายได้รับการรักษาจากแพทย์สงครามจนหายดี แต่กลับไปเสียชีวิตกลางสนามรบก็มีไม่น้อย

เหตุการณ์เหล่านี้วนเวียนไป จนกระทั่งนานวันเข้าแพทย์สงครามค่อย ๆ สั่งสมความทุกข์ขึ้นในจิตใจจนถึงที่สุด เขาเอาแต่ครุ่นคิดว่า
หากทหารที่ตายในสนามรบเหล่านั้นชะตาขาดอยู่แล้ว เหตุใดต้องมาให้ข้ารักษาจนหายก่อนค่อยไปตายอีก และหากข้ารักษาคนเจ็บจนหายดีแต่สุดท้ายเขาต้องกลับไปตายในสงคราม เช่นนั้นวิชาแพทย์ของข้าจะมีความหมายอันใดเมื่อคิดถึงตอนนี้ เขาจึงรู้สึกว่าการเป็นแพทย์สงครามนั้นช่างไร้ค่าสิ้นดี

แพทย์สงครามไม่อาจปฏิบิติหน้าที่ต่อไปได้ จึงตัดสินใจออกเดินทางขึ้นเขาไปพบอาจารย์เซน และบอกเล่าถึงความทุกข์ใจของตนเอง ทั้งยังถามอาจารย์เซนว่า หากเหตุการณ์ยังวนเวียนอยู่เช่นนี้ต่อไปเขายังจะดำรงอาชีพเป็นแพทย์สงครามไป ทำไม
?

เขารั้งอยู่บนยอดเขากับอาจารย์เซน ผ่านวันเวลาเนิ่นนานในการหาคำตอบ จนกระทั่งวันหนึ่งจึงได้กลับลงเขามาเป็นแพทย์สงครามเช่นเดิม เนื่องจากเขาค้นพบคำตอบของคำถามนี้แล้ว

แพทย์สงครามกล่าวกับตนเองว่า
ที่ข้าต้องทำหน้าที่ต่อไป เนื่องเพราะข้าคือแพทย์ผู้หนึ่งอย่างไรเล่า

ปัญญาเซ็น
: สรรพสิ่งเป็นไปตามธรรมชาติแห่งเหตุปัจจัย อยู่กับปัจจุบัน มองสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น มิใช่ตามที่ตนอยากหรือไม่อยากให้เป็น

15/7/56

นิทานเซ็น พร่ามึนแผ่นทอง



นิทานเซ็น พร่ามึนแผ่นทอง

ในสมัยฮ่องเต้ถังเจาจง มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาฝีฝักบัวผู้หนึ่ง นามว่า เมิ่งฝู่ ซึ่งมีฝีมือโด่งดังทั่วแผ่นดิน เนื่องจากวิธีการรักษามีเคล็ดลับเฉพาะตัวที่แตกต่างจากแพทย์ผู้อื่น ทั้งย้งรักษาให้คนไข้หายขาดจากโรคได้ทุกราย ดังนั้นคราใดที่ในวังปรากฏผู้เป็นโรคฝีฝักบัว ก็มักจะตามเมิ่งฝู่ เข้าไปให้การรักษาเสมอๆ
เวลาผ่านไปหลายปีเกิดมีสงครามขึ้น ณ เมืองหลวง เมิ่งฝู่จึงเดินทางย้ายไปพำนักยังเมืองเสฉวน และเนื่องจากช่วงหลายปีที่เคยได้ใกล้ชิดวังหลวงในเมืองฉางอาน ทำให้เขาจดจำการตกแต่งวังหลวงได้อย่างขึ้นใจ ทั้งยังเป็นแพทย์ผู้มั่งคั่ง ทำให้เมิ่งฝู่ตกแต่งห้องๆ หนึ่งในบ้านใหม่ ณ เมืองเสฉวน โดยเลืยนแบบห้องในวังหลวง ซึ่งตกแต่งได้อย่างหรูหราประณีต ประตูหน้าต่างงามวิจิตร ตั่ง เตียง เก้าอี้ เครื่องใช้ต่าง ๆ ในห้องล้วนปิดไว้บาง ๆ ด้วยแผ่นทองคำเปลว ทำให้เมื่อย่างเท้าก้าวเข้าไปในห้อง จึงสว่างเจิดจ้าไปด้วยแสงสะท้อนของทองคำ ละลานจนสายตาผู้มองพร่าเลือน
ทุกครั้งที่มีญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง หรือแขกเหรื่อมาเยี่ยมเยียน เมิ่งฝูต่างพามาชื่นชมห้องน้อยแห่งนี้ ซึ่งผู้พบเห็นต่างทอดถอนใจไปกับความงามของห้อง และเมื่อแขกเหรื่อกลับไป ต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่าเมื่ออยู่ในห้องน้อยแปะทองคำทั่วห้องของแพทย์เมิ่งฝู่ได้เพียงครู่เดียว ก็ให้รู้สึกพร่ามึนไปกับแผ่นทองคำเปลวที่มากมายเหล่านั้น
จื่อจุ้ยจินหมีหรือ พร่ามึนแผ่นทองเดิมแปลตรงตัว หมายถึง โดนแสงเจิดจ้าของแผ่นทองคำสะท้อนเข้าตาทุกทิศทุกทางจนพร่ามึน ภายหลังใช้เพื่อเปรียบเทียบถึงความหรูหราฟุ่มเฟือย
http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9520000052332

นิทานเซ็น พระเซ็นกับขอทาน





นิทานเซ็น พระเซ็นกับขอทาน


นิทานเซ็น พระเซ็นกับขอทาน
มี ขอทานพิการเหลือแขนเพียงข้างเดียวผู้หนึ่ง เดินทางเข้าไปยังวัดเซนที่พระเซนนามฟังจั้งพำนักอยู่ เพื่อขอรับทาน ทว่าเมื่อเอ่ยปาก พระฟังจั้งกลับชี้มือไปยังกองอิฐและบอกกับขอทานแขนเดียวว่าท่านช่วยย้ายอิฐกองนั้นไปยังหลังวัดก่อนเถอะ
ขอทานแขนเดียวได้ยินครั้งแรกก็ไม่พอใจ กล่าวว่าข้าเหลือแขนเพียงข้างเดียวจะย้ายอิฐได้อย่างไร ข้ามาขอทาน หากท่านไม่อยากให้ทานก็ไม่เป็นไร ไฉนต้องล้อเลียนผู้อื่นถึงเพียงนี้
พระเซนไม่เอ่ยโต้ตอบ เพียงแต่เดินไปยกก้อนอิฐโดยใช้แขนเพียงข้างเดียว จากนั้นค่อยกล่าวเรียบ ๆ ว่า งานประเภทนี้ แม้มีแขนข้างเดียวก็สามารถทำได้
เมื่อเห็นดังนั้น ขอทานจึงได้ทำตาม โดยค่อย ๆ ย้ายก้อนอิฐไปยังหลังวัด ทีละก้อน ทีละก้อน ใช้เวลาพักใหญ่จึงย้ายก้อนหินได้หมดกอง จากนั้นพระเซนจึงมอบเงินค่าตอบแทนให้กับขอทานจำนวนหนึ่ง ขอทานเห็นดังนั้นก็ดีใจมากพลางกล่าวคำ ขอบคุณท่าน ขอบคุณท่านไม่หยุด
พระฟังจั้งจึงตอบว่า ไม่ต้องขอบคุณเรา เพราะเงินนี้มาจากน้ำพักน้ำแรงของท่านเอง
ขอทานจึงเอ่ยด้วยความสำนึกว่า ข้าจะจดจำวันนี้เอาไว้จากนั้นจึงก้มตัวค้อมคำนับด้วยความตื้นตันก่อนเดินทางจากไป
ผ่านไปหลายวัน มีขอทานอีกผู้หนึ่งเดินทางมาขอทานที่วัดนี้ พระฟังจั้งพาขอทานผู้นี้เดินมาที่หลังวัด จากนั้นชี้ไปยังกองอิฐและกล่าวว่าท่านช่วยย้ายอิฐกองนั้นไปยังหน้าวัดก่อนเถอะทว่าขอทานผู้มีแขนขาครบผู้นี้กลับไม่สนใจคำกล่าวของพระเซน ได้แต่หันกายจากไปโดยพลัน
บรรดาสานุศิษย์ในวัดเห็นดังนั้นจึงเอ่ยถามพระฟังจั้งว่าคราวก่อนท่านอาจารย์ให้ขอทานย้ายอิฐมายังหลังวัด ไฉนวันนี้กลับประสงค์ให้ขอทานอีกผู้หนึ่งย้ายอิฐกลับไปหน้าวัด ที่แท้แล้วท่านอาจารย์อยากให้นำก้อนอิฐไปไว้ที่ใดกันแน่?”
พระเซนฟังจั้งตอบศิษย์เพียงสั้น ๆ ว่าอิฐวางไว้หน้าวัดหรือหลังวัดล้วนไม่ต่างกัน ทว่าจะย้ายหรือไม่ย้ายต่างหากที่สำคัญสำหรับขอทานเหล่านั้น
วันเวลาผ่านไปหลายปี วันหนึ่งปรากฏคนผู้หนึ่งท่าทางภูมิฐานเดินทางมาที่วัด คนผู้นี้มีแขนเพียงข้างเดียว ที่แท้แล้วคือขอทานแขนเดียวเมื่อหลายปีก่อน ซึ่งนับตั้งแต่วันที่เขาพบพระฟังจั้งในครั้งนั้น เขาจึงค่อยได้รู้ถึงคุณค่าในตัวเอง จากนั้นจึงหาทางประกอบสัมมาอาชีพที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย จนในที่สุดได้พบกับความสุข สำเร็จในชีวิตส่วนขอทานอีกผู้หนึ่งนั้น ยังคงเป็นขอทานอยู่เรื่อยมา
ปัญญาเซน : เชื่อมั่นในตนเอง รู้คุณค่าในตนเอง และพึ่งพาตนเอง คือคุณสมบัติพื้นฐานที่สำคัญยิ่งในการเป็นมนุษย์
ที่มา : หนังสือ 《菩提树下听禅的故事》, 惟真 เรียบเรียง, สำนักพิมพ์ 中国华侨出版社, 2004.08, ISBN 7-80120-851-X

14/7/56

นิทานเซ็น ผีบนต้นไม้



นิทานเซ็น ผีบนต้นไม้

นิทานเซ็น ผีบนต้นไม้
อาจารย์เซ็นอวิ๋นจีว์ นามเดิมเต้าฉี ชาวเมืองหนานชัง มักจะไปนั่งวิปัสสนายังถ้ำในป่าลึกเป็นประจำ พอดีกับที่ในละแวกนั้น มีเด็กซนกลุ่มหนึ่งคิดแผนการแกล้งอาจารย์เซน ด้วยการหลบซ่อนตัวอยู่บนต้นไม้ ณ เส้นทางที่อาจารย์เซนอวิ๋นจีว์ต้องเดินผ่าน
ยามค่ำ เมื่ออาจารย์เซ็นเดินผ่านมา เด็กซนผู้หนึ่งจึงยื่นมือฝ่าความมืดลงไปลูบศีรษะอาจารย์เซ้น โดยเดิมทีเหล่าเด็กซนคาดการณ์ว่าอาจารย์เซ็นจะต้องสะดุ้งตกใจเพราะคิดว่าเป็น ผีมาหลอก ทว่าเมื่อโดนลูบศีรษะอาจารย์เซ็นกลับสงบสำรวมดังเดิม เมื่อผิดคาด เหล่าเด็ก ๆ จึงเป็นฝ่ายตกใจจนหดมือกลับไปเอง ส่วนอาจารย์เซ็นก็เดินต่อไปราวกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น
วันถัดมา เหล่าเด็กซนยังไม่ละความพยายาม มาดักรออาจารย์เซ็น เมื่อพบหน้าก็แกล้งเอ่ยถามว่า ท่านอาจารย์ ได้ข่าวว่าละแวกนี้มีผีออกอาละวาดหลอกหลอน เกิดเรื่องเช่นนี้จริงหรือไม่?”
อาจารย์เซ็นอวิ๋นจีว์ตอบว่า ไม่จริง
เหล่าเด็กยังคงถามต่อไปว่า จริงหรือ แต่พวกเราได้ยินมาว่า ยามค่ำคืนมีคนโดนผีร้ายจับศีรษะด้วยนะ
อาจารย์เซ็นตอบว่า นั่นมิใช่ผีร้าย เป็นเพียงเด็กในหมู่บ้าน
เด็ก ๆ ต่างงุนงงที่อาจารย์เซ็นรู้ทันจึงถามว่า ท่านทราบได้อย่างไร?”
อาจารย์เซ็นจึงชี้แจงว่า เพราะมือที่จับศีรษะนั้นทั้งนุ่มนิ่มและอบอุ่น ย่อมมิใช่ผีร้าย
ผู้เผชิญความตายแล้วไม่กลัวเกรง คือแม่ทัพใหญ่ ผู้เข้าป่าไม่กลัวสัตว์ร้ายย่อมเป็นนายพราน ผู้ลงน้ำไม่เกรงสิ่งใดมีเพียงชาวประมง ส่วนผู้บรรลุแล้วย่อมไร้ซึ่งความหวาดกลัวอันใด
ปัญญาเซ็น : เมื่อรู้แจ้งย่อมไร้ซึ่งจิตขลาดกลัว

นิทานเซ็น ผ่าท้องซ่อนไข่มุก





นิทานเซ็น ผ่าท้องซ่อนไข่มุก



นิทานเซ็น ผ่าท้องซ่อนไข่มุก
ครั้งหนึ่งในรัชสมัยของฮ่องเต้ถังไท่จง แห่งราชวงศ์ถัง ขณะที่องค์ฮ่องเต้กำลังสนทนาปราศรัยอยู่กับเหล่าข้าราชสำนัก ถังไท่จงฮ่องเต้ ได้กล่าวถึงเรื่องราวหนึ่งว่า
ณ ดินแดนตะวันตกอันไกลโพ้น มีพ่อค้าวานิชย์ผู้หนึ่ง ด้วยความบังเอิญได้มีโอกาสครอบครองไข่มุกล้ำค่ามากชนิดที่ไม่เคยได้พบเจอมา ก่อน ทำให้เขาตื่นเต้นยินดีเป็นอันมาก แต่ขณะเดียวกันก็มีความกังวลว่ามุกเลอค่านั้นจะโดนขโมยไป ไม่ว่าจะเก็บรักษาไว้ที่ใดก็ไม่ทำให้เขารู้สึกวางใจได้ สุดท้ายจึงได้คิดวิธีการหนึ่งขึ้นมา คือคิดที่จะผ่าท้องของตัวเองแล้วนำไข่มุกไปซ่อนเอาไว้ในนั้น เพราะมีแต่ทำเช่นนี้จึงจะแน่ใจว่ามุกจะไม่ถูกมือดีโจรกรรมไปเป็นแน่ ทว่าเมื่อลงมือผ่าท้องตัวเอง ชายผู้นั้นก็สิ้นใจทันที
เมื่อเล่าจบ ถังไท่จงจึงกล่าวต่อไปว่าเรื่องเล่านี้เป็นเรื่องที่เราเคยได้ยินมา พวกท่านเล่า คิดว่าโลกนี้ยังมีคนเช่นนี้อยู่จริงหรือ?”
เหล่าข้าราชบริพารต่างพากันตอบว่า น่ากลัวมี
ถังไท่จงจึงกล่าวอีกว่า ทุกคนต่างทราบดีว่า เหตุการณ์ที่พ่อค้าวานิชย์รักถนอมไข่มุกมากกว่ารักถนอมชีวิตตนเองนั้น เป็นเรื่องชวนหัว น่าสมเพช แต่กลับมีขุนนางบางรายเนื่องเพราะกินสินบาท คาดสินบนจนทำร้ายทำลายถึงชีวิตของตัวเอง มีจักรพรรดิที่เสพสุขอย่างไร้ขีดจำกัดจนกระทั่งต้องสูญเสียประเทศชาติ เช่นนี้มิใช่เรื่องน่าขันเช่นเดียวกับเรื่องของพ่อค้าผู้นี้หรอกหรือ?”
ในตอนนั้น เว่ยเจิง ขุนนางและที่ปรึกษาคู่ใจขององค์ฮ่องเต้ถังไท่จง ได้กล่าวว่า เนื่องเพราะผู้ที่ถูกอำนาจเงินตราบังตา ละโมบโลภมาก จนกระทั่งลืมแม้แต่ชีวิตของตนเองนั้นมีอยู่จริง ในสมัยที่ขงจื๊อเป็นขุนนางอาวุโสแห่งแคว้นหลู่นั้น หลู่อายกง เจ้าครองแคว้นได้กล่าวกับขงจื๊อว่า มีคนป่วยเป็นโรคขี้ลืมบางจำพวก ย้ายบ้านไปแต่กลับลืมเลือนภรรยาขงจื๊อตอบว่า นั่นไม่นับว่าแปลก ยังมีคนที่เป็นโรคขี้ลืมหนักว่านั้น เจี๋ย, โจ้ว กระทั่งลืมเลือนแม้แต่ตัวตนของตนเอง” (เจี๋ย หมายถึง กษัตริย์ทรราชย์สมัยราชวงศ์เซี่ย ส่วน โจ้ว หมายถึง กษัตริย์ทรราชย์สมัยราชวงศ์ซาง ซึ่งทั้งสองต่างก็เป็นกษัตริย์องค์สุดท้าย ก่อนที่ราชวงศ์ของตนเองจะโดนล้มล้าง)
โพวฟู่ฉางจูหรือ ผ่าท้องซ่อนมุกใช้เพื่อเปรียบเปรยกับการเห็นแก่ทรัพย์สมบัติจนทำลายตนเอง หรือการเรียงลำดับความสำคัญของเรื่องต่าง ๆ กลับตาลปัตร
ที่มา http://baike.baidu.com