10/7/56

นิทานเซ็น ความว่างเปล่า



นิทานเซ็น ความว่างเปล่า


มีนิทานเซ็นที่น่าสนใจหลายเรื่อง เกี่ยวกับ ซูตงโพ (苏东坡)” ยอดนักกวีและนักปกครองในสมัยซ่งใต้ เรื่องหนึ่งเล่าเอาไว้ว่า
ครั้งหนึ่ง ซูตงโพได้ยินว่า อาจารย์เซ็นฝออิ้น ณ วัดจินซานขึ้นแสดงธรรมเทศนา เขาจึงรีบเดินทางมาฟังธรรมที่วัด ทว่าเมื่อมาถึง ปรากฏว่าศาสนิกชนล้วนมาจับจองที่นั่งฟังธรรมกันจนเต็มบริเวณไปหมดแล้ว เมื่ออาจารย์เซ็นฝออิ้น เห็นซูตงโพจึงเอ่ยทักว่า ผู้คนนั่งเต็มแล้ว ในที่นี้ไม่มีที่นั่งสำหรับท่านแล้ว
ซูตงโพพอได้ฟังก็โต้ตอบอาจารย์เซ็น โดยเหน็บแนมแฝงธรรมมะที่คิดว่าตนเองเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งกลับไปว่าในเมื่อไม่มีที่ว่างให้นั่ง งั้นข้าขอนั่งบน ธาตุ 4 ขันธ์ 5 ของท่านอาจารย์ก็แล้วกัน” (ธาตุ 4 หมายถึงวัตถุอันเป็นที่ตั้งมูลฐานของสิ่งทั้งปวงประกอบด้วย ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ส่วนขันธ์ 5 หรือ เบญจขันธ์ หมายถึง กองแห่งรูปธรรมและนามธรรมห้าหมวดที่ประชุมกันเข้าเป็นชีวิต ประกอบด้วย รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์)
อาจารย์เซ็นฝออิ้น จึงตอบกลับมาว่า อาตมามีคำถามข้อหนึ่ง หากท่านตอบได้ พระชราเช่นอาตมาจะยอมให้ท่านนั่งบนร่างกายของอาตมา แต่หากตอบไม่ได้ ท่านจงมอบชิ้นหยกประดับเข็มขัดของท่านให้กับวัดเป็นที่ระลึกเถิด
ซูตงโพได้ยินดังนั้นก็รับคำท้าทันที เพราะมั่นใจในสติปัญญาของตนว่าอย่างไรก็ต้องชนะ
อาจารย์เซ็นฝออิ้นจึงเอ่ยถามขึ้นทันที่ว่า ในเมื่อธาตุทั้ง 4 ล้วนว่างเปล่าอยู่แต่เดิม ขันธ์ 5 ก็ไม่มีอยู่ แล้วท่านจะนั่งที่ใดกันเล่า?”
ซูตงโพได้ฟังคำถามจึงค่อยเข้าใจว่าตนเองพลาดพลั้งให้กับอาจารย์เซ็นแล้ว สุดท้ายจึงได้แต่มอบหยกประดับเข็มขัดให้กับทางวัดเป็นที่ระลึกไป
ปัญญาเซ็น : ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่ง ล้วน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปอยู่ทุกขณะ ตามหลักไตรลักษณ์ นั่นคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ที่มา : หนังสือ 《禅的故事精华版》, 慕云居 เรียบเรียง, สำนักพิมพ์ 地震出版社, 2006.12, ISBN 7-5028-2995-4


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น