นิทานเซ็น ชี้กวางเป็นม้า
จื่อลู่เหวยหม่า (指鹿为马): ชี้กวางเป็นม้า
นิทานเซน ชี้กวางเป็นม้า
ในสมัยฮ่องเต้องค์ที่ 2 ของราชวงศ์ฉิน มีขันทีนามว่า เจ้าเกา (赵高) เป็นคนมักใหญ่ใฝ่สูง เฝ้าคิดช่วงชิงบัลลังก์ฮ่องเต้ แต่อย่างไรก็ตาม ในราชวังก็ยังคงมีขุนนางที่จงรักภักดีต่อฮ่องเต้อยู่ไม่น้อยที่เป็นเสี้ยน หนามของเจ้าเกา ดังนั้นเจ้าเกาจึงคิดหาวิธีที่จะทดสอบว่าตนเองมีบารมีมากน้อยแค่ไหน รวมทั้งยังสามารถตรวจสอบได้ว่าใครเป็นปรปักษ์ต่อเขา
วันหนึ่งขณะที่ฮ่องเต้กำลังออกว่าราชการ
เจ้าเกาให้คนจูงกวางเข้ามาในเขตพระราชฐาน 1
ตัว แล้วเขาจึงกราบทูลต่อฮ่องเต้ว่า “กระหม่อมได้นำม้าลักษณะดีตัวนี้มาถวายต่อพระองค์”
ฮ่องเต้ได้ฟังก็คิดในใจว่า
นี่มันกวางชัด ๆ จึงตรัสกับเจ้าเกาว่า “เจ้าเกาท่านผิดแล้ว นี่มันกวางชัด ๆ ใยท่านบอกว่าเป็นม้า”
แต่อย่างไรเสียเจ้าเกาก็ดันทุรังว่าสัตว์ที่ตนเองนำมานั้นเป็นม้าอย่าง
แน่นอน ทำให้ฮ่องเต้เริ่มหวั่นไหวใจ ตรัสถามว่า หากเป็นม้าทำไมมีเขายาว เมื่อเห็นดังนั้น
เจ้าเกาก็ดำเนินตามแผนที่วางไว้ กล่าวคือหันไปทางขุนนางน้อยใหญ่ที่อยู่ในที่นั้นและกราบทูลฮ่องเต้ว่า “หากพระองค์ไม่เชื่อ สามารถสอบถามเหล่าขุนนางพวกนี้ได้ว่าแท้จริงแล้วสัตว์ตัวนี้คืออะไร”
พลัน
เหล่าขุนนางก็เข้าใจแผนการของเจ้าเกา ที่ต้องการตรวจสอบว่ามีคนคิดเป็นปรปักษ์กับเขาหรือไม่
บรรดาขุนนางน้อยที่ขี้ขลาดตาขาวหลายคนต่างก้มหน้านิ่งไม่กล้าพูดจา เนื่องจากไม่กล้าขัดใจเจ้าเกา
แต่ทางหนึ่งก็ไม่อยากกล่าวคำที่เห็นชัด ๆ ว่าเป็นเท็จออกมา มีขุนนางซื่อสัตย์บางคนยืนยันว่าที่เห็นอยู่เป็นกวางอย่างแน่นอน
และอีกหลายคนที่เป็นคนของเจ้าเกา หรือคิดที่จะสวามิภักดิ์ต่อเจ้าเกา ก็ตอบว่า
ที่เห็นนั่นคือม้าอย่างมิต้องสงสัย
ด้วยแผนการนี้ ขันทีโฉดจึงสามารถแบ่งแยกขุนนางในวังได้ว่าใครเป็นพวกเดียวกับเขา
และใครไม่ใช่ หลังจากนั้นจึงค่อย ๆ หาวิธีการกำจัดคนที่ไม่คิดสวามิภักดิ์ต่อตนออกไปจนหมดสิ้น
ปัจจุบันใช้สำนวนนี้เพื่อเปรียบเทียบ
การจงใจบิดเบือนข้อเท็จจริง กลับขาวเป็นดำ กลับดำเป็นขาว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น