นิทานเซ็น ปิดประตูสำนึกผิด
นิทานเซ็น
ปิดประตูสำนึกผิด
ปี้เหมินซือกั้ว《闭门思过》: ปิดประตูสำนึกผิด
ในรัชสมัยของพระเจ้าฮั่นเจาตี้
แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ยังมีคนผู้หนึ่ง นามว่า หานเอี๋ยนโซ่ว เป็นชาวแคว้นเอียน ดำรงตำแหน่งเป็นนายอำเภออยู่ที่เมืองจั่วผิงอี้
ครั้งหนึ่งนายอำเภอหานเดินทางไปตรวจการยังตำบลเกาหลิง พบพี่น้องคู่หนึ่งเกิดกรณีพิพาทจึงนำเรื่องมาให้เขาช่วยไกล่เกลี่ย
พี่น้องทั้งสอง
คนหนึ่งฟ้องนายอำเภอหานว่า “น้องชายของข้าน้อยบุกรุกและยึดครองที่ดินทำกินของข้าน้อยไป”
อีกคนหนึ่งพลันกล่าวแก้ต่างว่า “ที่ดินผืนนี้ เดิมทีบิดา-มารดาได้มอบให้ข้าน้อยก่อนที่ทั้งคู่จะลาโลกนี้ไป
เป็นท่านพี่ที่ไม่ถือหลักเหตุผล กลับกล่าวว่าที่ดินผืนนี้เป็นของเขา”
มิคาด เหตุกรณีพิพาทระหว่างพี่-น้องที่เกิดขึ้นครั้งนี้สะเทือนจิตใจของหานเอี๋ยน
โซ่วยิ่งนัก เขาจึงกล่าวด้วยความละอายว่า “ข้า ในฐานะนายอำเภอ ถือเป็นชนชั้นผู้ปกครอง
แต่กลับไม่อาจอบรมสั่งสอนผู้คน กระทั่งเกิดเหตุการณ์วิวาทในหมู่ประชาชนคนเดินดินโดยเฉพาะกับพี่น้องร่วมสาย
โลหิต เป็นเรื่องที่โหดร้าย และทำให้บิดา-มารดาที่น่ายกย่องต้องได้รับความอับอายไปด้วย
ซึ่งถือเป็นหน้าที่ข้าที่ต้องรับผิดชอบ” จากนั้น นายอำเภอหานจึงเดินทางกลับที่พำนัก
เข้าห้องปิดประตูอยู่กับตัวเองตามลำพัง เพื่อใช้เวลาสำนึกในความผิดพลาดของตนเอง
ต่อมาภายหลัง สำนวน “ปี้เหมินซือกั้ว” หรือ “ปิดประตูสำนึกผิด” ใช้ในความหมายตรงตัวคือการปลีกตัวอยู่ลำพัง
เพื่อใช้เวลาขบคิด ไตร่ตรองถึงความผิดพลาดของตนเอง หรือแปลว่าสำนึกผิดด้วยตนเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น