นิทานเซ็น ได้อย่าง เสียอย่าง
นิทานเซ็น ได้อย่าง
เสียอย่าง
ยังมีชายหนุ่มผู้หนึ่งที่นับได้ว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ
เขาพยายามศึกษาหาความรู้ในศาสตร์หลาย ๆ แขนง แต่ทว่าในอาชีพการงานกลับมีความสำเร็จเพียงระดับหนึ่ง
ไม่สามารถที่จะเจริญก้าวหน้าไปถึงยังจุดที่ตนเองหวังไว้ได้ เขาขบคิดไม่เข้าใจว่าเป็นเพราะเหตุใด
จึงได้ไปขอคำชี้แนะจากอาจารย์เซ็น
เมื่ออาจารย์เซ็นได้รับฟังปัญหาของชายหนุ่ม
กลับไม่เอื้อนเอ่ยอันใดออกมา เพียงแต่เชื้อเชิญให้ชายหนุ่มรับประทานอาหารเจด้วยกันที่วัด
บนโต๊ะเรียงรายไว้ด้วยอาหารเจละลานตานับร้อยชนิด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาหารที่ชายหนุ่มไม่เคยพบเห็นมาก่อน
เขาจึงได้พยายามลิ้มลองอาหารเหล่านั้นให้ครบทุกอย่าง ต่อเมื่อรับประทานครบ จึงค่อยวางตะเกียบและรู้สึกว่าตนเองอิ่มเกินไป
อาจารย์เซ็นถามว่า “อาหารที่ท่านรับประทานลงไปนั้นมีรสชาติเช่นไรบ้าง?”
ชายหนุ่มตอบด้วยความลำบากใจว่า “มีรสชาติร้อยพัน ยากที่จะจำแนกแยกแยะ สุดท้าย รู้สึกแค่เพียงว่ากระเพาะขยายอย่างยิ่ง”
อาจารย์เซ็นถามต่อไปว่า “เช่นนั้นแปลว่าท่านรู้สึกสบายดีและพอใจใช่หรือไม่?”
ชายหนุ่มตอบว่า “มิใช่ กลับทรมานอย่างยิ่ง”
เมื่ออาจารย์เซ็นได้ฟัง ก็เพียงแต่ยิ้มเล็กน้อย ไม่พูดจา
ชายหนุ่มตอบด้วยความลำบากใจว่า “มีรสชาติร้อยพัน ยากที่จะจำแนกแยกแยะ สุดท้าย รู้สึกแค่เพียงว่ากระเพาะขยายอย่างยิ่ง”
อาจารย์เซ็นถามต่อไปว่า “เช่นนั้นแปลว่าท่านรู้สึกสบายดีและพอใจใช่หรือไม่?”
ชายหนุ่มตอบว่า “มิใช่ กลับทรมานอย่างยิ่ง”
เมื่ออาจารย์เซ็นได้ฟัง ก็เพียงแต่ยิ้มเล็กน้อย ไม่พูดจา
วันต่อมาอาจารย์เซ็นชวนชายหนุ่มปีนขึ้นไปบนยอดเขา
แต่เมื่อทั้งสองปีนขึ้นไปถึงกลางทาง ชายหนุ่มได้พบกับหินคริสตัลสีสดสวยแวววาวมากมาย
จึงเกิดความอยากได้ และเก็บหินเหล่านั้นใส่ย่ามของตนจนเต็มแน่น แต่น้ำหนักของหินที่มากเกินไปทำให้เขาไม่สามารถปีนขึ้นไปต่อได้
ขณะเดียวกันก็ไม่อาจตัดใจทิ้งคริสตัลเหล่านั้น
ขณะที่ยืนลังเลอยู่กลางทางนั้นเอง
อาจารย์เซนจึงได้กล่าวขึ้นว่า
“ท่านควร “วางลง” ได้หรือยัง?
มิเช่นนั้นจะขึ้นไปถึงจุดสูงสุดได้อย่างไร?”
เมื่อชายหนุ่มได้ฟัง ก็พลันกระจ่างแจ้งในใจ
สองมือวางก้อนหินเหล่านั้นลง พลางป่ายปีนขึ้นไปถึงยอดภูสูงได้สำเร็จ จากนั้นจึงกราบลาอาจารย์เซ็นเดินทางกลับ
เมื่อเวลาผ่านไปอีกหลายปี ชายหนุ่มก็ประสบความสำเร็จดังที่มุ่งหวังไว้
ปัญญาเซ็น :
รับประทานอาหารก็ดี ปีนเขาก็ดี การศึกษาหาความรู้ก็ดี ขณะที่ได้มาซึ่งสิ่งใด
ย่อมต้องสูญเสียสิ่งหนึ่งไปเสมอ บนเส้นทางชีวิตมนุษย์ไม่สามารถครอบครองทุกอย่าง ยังคงมีหลายอย่างที่จำต้องยอมสละละทิ้งเพื่อให้ได้มาซึ่งบางสิ่ง
เมื่อเรียนรู้ที่จะ “วางลง”
จึงค่อยเข้าใจถึงความสุข จึงค่อยรู้ซึ้งเมื่อ “ได้รับ”
ที่มา : หนังสือ 《禅的故事精华版》, 慕云居
เรียบเรียง, สำนักพิมพ์ 地震出版社, 2006.12, ISBN
7-5028-2995-4
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น