นิทานเซ็น เข้าเนื้อไม้ลึกสามเฟิน
ยู่มู่ซ้นเฟิน 入木三分 : เข้าเนื้อไม้ลึกสามเฟิน
หวังซีจือ
คือนามของศิลปินพู่กันจีนผู้โด่งดังในสมัยราชวงศ์จิ้นตะวันออก
พรสวรรค์ในด้านการเขียนอักษรของเขาปรากฏตั้งแต่เยาว์วัย
เมื่อครั้งหวังซีจืออายุ
12 ขวบ เขาบังเอิญพบตำราการเขียนพู่กันจีนของบิดา
จึงได้นำมาอ่านอย่างหลงใหล เมื่อผู้เป็นบิดามาพบก็กล่าวกับเขาว่า “เจ้ายังเด็กเกินไปที่จะอ่านตำราเล่มนี้ รอให้เจ้าเติบโตกว่านี้อีกนิด ข้าจะสอนเคล็ดลับการเขียนพู่กันจีนให้กับเจ้า”
หวังซีจือตอบผู้เป็นบิดาว่า “หากตอนนี้ข้ายังไม่เข้าใจเรื่องราวในตำราเล่มนี้
เมื่อเติบโตขึ้นกลับมาอ่านจะมีประโยชน์อันใดเล่า” ผู้เป็นบิดารู้สึกว่าคำกล่าวของหวังซีจือมีเหตุผล
จึงตัดสินใจสอนวิชาการเขียนพู่กันจีนที่สั่งสมมาหลายปีให้แก่บุตรชาย ตั้งแต่นั้นมา
หวังซีจือก็เข้าสู่เส้นทางของพู่กันจีนอย่างถอนตัวไม่ขึ้น เขาเฝ้าศึกษาตำรามากมาย
ฝึกหัดเขียนตัวอักษรโดยไม่หยุดหย่อน ไม่นานฝีมือของเขาก็พัฒนาเข้าสู่ขอบเขตของการเป็นศิลปิน
ผลงานพู่กันจีนของหวังซีจือยิ่งมายิ่งได้รับการยอมรับจากผู้คน
จนได้ชื่อว่าเป็น เทพแห่งอักษร บางรายเก็บรักษาผลงานของเขาเอาไว้ในแง่ของงานศิลปะ ต่อมาเขารับราชการตำแหน่งแม่ทัพฝ่ายขวา
(โย่วจวิน) ผู้คนจึงพากันเรียกเขาอีกนามหนึ่งว่า หวังโย่วจวิน
ครั้งหนึ่ง
หวังซีจือพบเห็นหญิงชรายากจนผู้หนึ่งกำลังเร่ขายพัด แต่กลับไม่มีผู้ใดสนใจซื้อ เขาจึงเกิดความสงสารและบอกให้คนหาพู่กันและน้ำหมึกมา
เมื่อได้มาแล้วจึงเขียนตัวอักษร 5
ตัวลงบนพัด เมื่อหญิงชราเห็นดังนั้นก็โวยวายขึ้นมาว่าพัดเลอะตัวอักษรเช่นนี้จะมีใคร
ซื้อไปอีก ทว่าเมื่อนางเดินทางเข้ามายังเมืองหลวง ผู้คนที่ได้ยืนเรื่องราวนี้ต่างพากันยื้อแย่งกันซื้อพัดดังกล่าวในราคาสูง
ลิบลิ่วเลยทีเดียว
หนึ่งในผลงานเด่นของหวังซีจือ
นอกจากนี้ ครั้งหนึ่งฮ่องเต้ทรงมีพระราชดำริให้จัดงานเฉลิมฉลองยังรอบวังหลวง
และให้หวังซีจือเขียนคำอวยพรลงบนป้ายอวยพร ภายหลังเนื่องจากต้องการเปลี่ยนแปลงคำอวยพร
ช่างประดับป้ายจึงได้ปลดป้ายที่แขวนไว้เพื่อนำลงมาแก้ไข แต่ที่สร้างความประหลาดใจก็คือตัวอักษรทุกตัวที่หวังซีจือใช้พู่กันจารรึกล
งบนแผ่นป้ายนั้นกลับเป็นรอยสลักฝังลึกลงบนเนื้อไม้ถึง 3 เฟิน ราวกับใช้มีดแกะสลักก็ไม่ปาน
ผู้คนที่ได้ทราบข่าวต่างพากันยกย่องในฝีมือของศิลปินท่านนี้
ตำนานดังกล่าวแม้ว่าจะแฝงความเกินจริง
แต่ก็เป็นการพรรณาถึงฝีมือการเขียนพู่กันจีนอันแข็งแกร่งของหวังซีจือได้อย่างเห็นภาพ
สำนวน “ยู่มู่ซานเฟิน” หรือ “เข้าเนื้อไม้ลึกสามเฟิน” นอกจากใช้เพื่อชื่นชมฝีมือการเขียนพู่กันจีนแล้ว ในภายหลังยังใช้เพื่อเปรียบเปรยกับผู้ที่มีความคิดล้ำลึก
หรือ วิเคราะห์ แยกแยะประเด็นปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน แจ่มแจ้ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น